dark mode light mode Search
Search

10 ศาลเช้าชื่อดังทั่วแดนอาทิตย์อุทัย

ศาสนาชินโต (神道) ถือเป็นความเชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่อยู่เคียงคู่ญี่ปุ่นมานานแสนนาน ตามประวัติแล้วศาสนานี้ถือกำเนิดขึ้นบนดินดินแดนอาทิตย์อุทัยมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ศาสนาสถานอันศักดิ์สิทธิ์ประจำศาสนาชินโตนี้ก็คือ “ศาลเจ้า หรือ จินจะ (Jinja / 神社)” อันเป็นที่สถิตของ “คามิ หรือ เทพเจ้า (Kami / 神)” ตามความเชื่อของญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้คนได้มาสักการะ อธิษฐาน ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลกับตน

Credit: wikipedia

ศาสนาชินโตผูกพันกับวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นตั้งแต่เกิดจนตาย (รวมถึงโลกหลังความตายด้วย) นอกจากเชื่อมโยงด้วยพิธีกรรมต่างๆ แล้วยังเกี่ยวพันกับชุมชนไปจนถึงสังคมในหลากหลายมิติ ตลอดจนเป็นกลยุทธสำคัญด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวรวมถึงเป็นซอฟท์พาวเวอร์ที่ทรงพลังอย่างแท้จริง เราอาจสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าไปพร้อมรื่นเริงกับเทศกาล “มัตสึริ (Matsuri / 祭り)” ของชุมชนต่างๆ และจบด้วยการบูชาเครื่องราง “โอมาโมริ (Omamori / お守り)” ให้เป็นสิริมงคลกับตนตลอดจนเป็นของที่ระลึกสร้างความประทับใจ นี่แหละที่ทำให้ศาลเจ้าไม่เคยถูกลืมเลือน

จากขอมูลล่าสุดของ Jinja Honcho (神社本庁 ) หรือสมาคมศาลเจ้าชินโต (Association of Shinto Shrines) ระบุว่าปัจจุบันมีศาลเจ้าชินโตกระจายตัวอยู่ทั่วญี่ปุ่นมากถึงกว่า 80,000 แห่ง ทว่าศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์สำคัญอันโด่งดังที่อยากแนะนำให้ลองไปเยือนนั้นมีดังนี้

1.ศาลเจ้าอิเซะ (Ise Jingu / 伊勢神宮) / จ.มิเอะ

ศาลเจ้านี้ถือเป็นศาลเจ้าหลักที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดรวมถึงเป็นที่เคารพสูงสุดในบรรดาศาลเจ้าทั้งหมดในญี่ปุ่น คาดว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.539 หรือประมาณ 4 ปีก่อนคริสตกาลเพื่ออุทิศให้เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้า อมาเตระซึ (Amaterasu Omikami / 天照大御神) ผู้เป็นดั่งสุริยะเทพีตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ ตลอดจนเป็นหัวหน้าทวยเทพทั้งปวง ทั้งยังถือเป็นต้นตระกูลแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นอีกด้วย อันที่จริงแล้วศาลอิเซะนั้นประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ศาลเจ้าอิเซะใน (Ise Inner Shrine) ที่เรียกว่า ไนกุ (Naiku / 内宮) หรือชื่อทางการว่า โคไตจินกุ (Kotai Jingu / 皇大神宮 ) กับ ศาลเจ้าอิเซะนอก (Ise Outer Shrine) ที่เรียกว่า เก็กคุ (Geku / 外宮) หรือชื่อทางการว่า โตยูเกะไดจินกุ (Toyouke Daijingu / 豊受大神宮) ซึ่งตั้งอยู่ห่างกัน 6 กม. สำหรับเทพอมาเตระซึจะประทับอยู่ศาลเจ้าในส่วนศาลเจ้านอกเป็นที่สถิตของเทพเจ้าโตโยเกะ (Toyouke Omikami / 豊受大御神) ผู้เป็นเทพแห่งเกษตรกรรม

นอกจากนี้ศาลเจ้าอิเซะยังถือเป็นศาลเจ้าสำคัญประจำราชวงศ์ญี่ปุ่นโดยทางราชวงศ์ก็มีธรรมเนียมที่จะต้องส่งเจ้าหญิงเชื้อพระวงศ์มาดำรงตำแหน่งสังฑราชแห่งศาสนาชินโตด้วย อีกหนึ่งประเพณีโบราณสำคัญที่ถูกอนุรักษ์และสืบทอดต่อมานับพันปีนั้นก็คือ “ชิคิเน็นเซ็นกุ (Shikinen-Sengu / 式年遷宮)” ซึ่งจะทำการรื้อถอนศาลเจ้าเดิมและสร้างขึ้นใหม่ในทุกๆ 20 ปี นอกจากจะเป็นพิธีการศักดิ์สิทธิ์ช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอแล้วประเพณียังเป็นดั่งกลอุบายในการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมตลอดจนรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้อยู่สืบไปได้อย่างแยบยลอีกด้วย การสร้างศาลเจ้าใหม่ทุกครั้งนั้นยังคงรักษาขนบและวิธีการดั้งเดิมไว้ทั้งหมด ตั้งแต่วัสดุในการก่อสร้าง รูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ไปจนถึงวิธีการก่อสร้างแบบโบราณในการเข้าไม้ให้เชื่อมติดกันโดยไม่ใช้โลหะหรือตะปูยึดเหนี่ยว

+ ที่ตั้ง: 1 Ujitachicho, Ise, Mie, Japan

+ เว็บไซต์: www.isejingu.or.jp/en

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/3xKoGm4dr3jhZ8W37

2.ศาลเจ้าอิซูโมะ (Izumo Taisha / 出雲大社) / จ.ชิมาเนะ

อีกหนึ่งศาลเจ้าสำคัญที่ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใดทว่ามีการค้นพบข้อมูลในตำราประวัติศาสตร์ฉบับเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นมีบันทึกถึงศาลเจ้าแห่งนี้ไว้ด้วยซึ่งตำรานั้นตรวจสอบแล้วว่าน่าจะถูกเขียนขึ้นราวช่วงปี ค.ศ.712 อันทำให้ประเมินได้เบื้องต้นว่าศาลเจ้าน่าจะมีอายุเก่าแก่มากกว่านั้นและอาจจะเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดรองจากศาลเจ้าอิเซะเลยทีเดียว สำหรับเทพเจ้าที่ประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าแห่งนี้ก็คือเทพเจ้า โอคุนินุชิ (Okuninushiokami / 大国主大神) อันเป็นเทพแห่งการสร้างชาติ, เกษตรกรรม, แพทย์ศาสตร์, และเวทมนตร์ปกป้อง แต่บ้างก็มีข้อมูลว่าเป็นเทพแห่งการครองคู่ (แต่งงาน) นั่นเลยทำให้เกิดธรรมเนียมไหว้ศาลเจ้าในรูปแบบเฉพาะไม่เหมือนใครโดยจะเป็นการปรบมือ 4 ครั้ง (ปกติธรรมเนียมพื้นฐานจะปรบมือแค่ 2 ครั้ง) โดยสองครั้งแรกเป็นการขอพรให้กับตนเองและสองครั้งหลังเป็นการมอบพรให้กับคู่ครองตนให้สมปรารถนา

ในส่วนของฮงเด็นอันเป็นศาลเจ้าประธาน (Honden / 本殿) อันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดนั้นสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทชะ (Taisha Zukuri / 大社造) อันเป็นสไตล์ของศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดที่อ้างอิงจากต้นฉบับของศาลเจ้าแห่งนี้นั่นเอง ทว่าสถาปัตยกรรมที่โด่งดังขึ้นชื่อนั้นน่าจะเป็นอาคารคากุระเด็น (Kaguraden / 神楽殿) ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1776 โดยมีจุดเด่นตรงการตกแต่งเชือกศักดิ์สิทธิ์ถักพันเกลียว “ชิเมะนาวะ (Shimenawa / 標縄)” ขนาดยักษ์อยู่เหนือประตูอาคารอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อที่เสมือนเครื่องรางปัดเท่าสิ่งชั่วร้ายและปกป้องเราจากสิ่งอัปมงคลไม้ให้เข้ามากล้ำกลายนั่นเอง เชือกถักพันเกลียวยักษ์ที่เรามักเห็นกันบ่อยนี้มีความยาวราว 1.35 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางราว 8 เมตร และหนักกว่า 4.5 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นเชือกพันเกลียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นเลยทีเดียว

+ ที่ตั้ง: 195 Taishacho Kizukihigashi, Izumo, Shimane, Japan

+ เว็บไซต์: izumooyashiro.or.jp

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/9yAgfqKGuHHfscdR7

3.ศาลเจ้าอิทสึคุชิมะ (Itsukushima Shrine / 厳島神社) / จ.ฮิโรชิม่า

มรดกแห่งศรัทธาลอยล่องกลางท้องทะเลนี้ถือว่าเป็นศาลเจ้าที่โด่งดังที่สุดในญี่ปุ่นก็ว่าได้ นอกจากจะเป็นภาพจำของญี่ปุ่นในอันดับต้นๆ แล้วศาลเจ้าและประตูโทริอิสุดไอคอนิกแห่งนี้ยังเป็นมรดกโลก (UNESCO World Heritage Site) อันทรงคุณค่าตลอดจนได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 3 วิวสุดคลาสสิกตลาดกาล (Three Views of Japan หรือ Nihon Sankei / 日本三景) ที่สะท้อนความงดงามของญี่ปุ่นได้ดีที่สุดด้วย 

ศาลเจ้าดั้งเดิมนั้นสร้างขึ้นราวปี ค.ศ.593 เพื่ออุทิศให้สามเทพธิดาอย่าง อิจิกิชิมาฮิเมะ โนะ มิโคโตะ (Ichikishimahime no Mikoto / 市杵島姫命), ทาโกริฮิเมะ โนะ มิโคโตะ (Tagorihime no Mikoto / 田心姫命) และทากิสึฮิเมะ โนะ มิโคโตะ (Tagitsuhime no Mikoto / 湍津姫命) ที่รู้จักในนาม “ซันโจชิน (Sanjoshin / 三女神)” อันเป็นเทพแห่งท้องทะเลและวายุ (ลมฟ้าอากาศ) แต่สถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบันนั้นถูกบูรณะใหม่ให้กลายเป็นสไตล์ “ชินเด็นสึคุริ” (Shinden-zukuri / 寝殿造)” เมื่อปี ค.ศ.1168 ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของที่พำนักชนชั้นสูงในยุคนั้น ซึ่งการปรับโฉมอย่างประณีตงดงามนี้ก็ทำให้ศาลเจ้าที่นี่วิจิตรงดงามกว่าเดิมจนดึงดูดให้ราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงจากเกียวโตเดินทางมาสักการะตลอดจนนำวัฒนธรรมราชสำนักมาสู่ดินแดนนี้จนยกระดับให้ที่นี่กลายเป็นศาลเจ้าสำคัญระดับประเทศในที่สุด

+ ที่ตั้ง: 1-1 Miyajimacho, Hatsukaichi, Hiroshima, Japan

+ เว็บไซต์: itsukushimajinja.jp/en

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/J2C6hfcxzF4F3Qws8

4.ศาลเจ้านิกโกะโทโชกุ (Nikko Toshogu / 光東照宮) / จ.โทชิกิ

โทกุงาวะ อิเอยาสึ (Tokugawa Ieyasu / 徳川家康) ได้รับยกย่องว่าเป็นโชกุนต้นตระกูลโทกุงาวะอันเกรียงไกรรวมรวบแผ่นดินญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่น ภายหลังจากท่านเสียชีวิตแล้วโอรสโทกุงาวะ ฮิเดะทาดะ (Tokugawa Hidetada / 徳川秀忠) ผู้สือบทอดขึ้นเป็นโชกุนรุ่นที่สองก็ได้สร้างศาลเจ้านี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1617 อย่างวิจิตประณีตเพื่ออุทิศถวายแด่อิเอยาสึบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาโทกุงาวะ อิเอมิตสึ (Tokugawa Iemitsu / 徳川 家光) หลายชายผู้สืบทอดขึ้นเป็นโชกุนรุ่นที่สามก็ได้บูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1636 จนกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่วิจิตประณีตและมีสีสันงดงามอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้เพื่อให้สมฐานะกับการที่ท่านอิเอยาสึที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “โทโชไดกงเก็น (Tosho Daigongen / 東照大権現)” หรือ “เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่คอยปกปักรักษาดินแดนฝั่งตะวันออก” นั่นเอง

รอบบริเวณภายใต้ร่มไม้เขียวขจีเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมวิจิตรประณีตที่ผสมผสานความเชื่อสองศาสนาระหว่างชินโตและพุทธได้อย่างงดงามกลมกลืน เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมนี้มีความเฉพาะตัวไม่เหมือนใครตั้งแต่งานเกะสลักไปจนถึงการแต่งแต้มสีลงรักปิดทองที่ทำให้ต่างจากศาลเจ้าแบบดั้งเดิมซึ่งนี่คือต้นแบบของศาลเจ้าในสไตล์โทโชกุ (Toshogu / 東照宮) อีกหลายแห่งทั่วญี่ปุ่น ในส่วนของฮงเดนอันเป็นศาลเจ้าประธานศักดิ์สิทธิ์ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนโดยตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานดวงวิญญาณโทกุกาวะ อิเอยาสุ ส่วนด้านข้างทั้งสองเป็นที่ประดิษฐานดวงวิญญาณของโอดะ โนบุนางะ (Oda Nobunaga / 織田 信長) และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi / 豊臣 秀吉) แม่ทัพสองสหายผู้ยิ่งใหญ่นั่นเอง

+ ที่ตั้ง: 2301 Sannai, Nikko, Tochigi, Japan

+ เว็บไซต์: www.toshogu.or.jp/english

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/q2toALpB3zSZPFrLA

5.ศาลเจ้าเมจิ (Meiji Jingu / 明治神宮) / จ.โตเกียว

หนึ่งในศาลเจ้ายุคใหม่ที่เปี่ยมศรัทธาและมีผู้เดินทางไปสักการะเป็นจำนวนมากในทุกวัน เหตุผลหนึ่งนั้นก็คือการตั้งอยู่ใจกลางแหล่งท่องเที่ยวดังระดับโลกอย่างชิบุย่าและฮาราจูกุนั่นเอง ทว่าเพียงก้าวเข้าสู่เขตแดนของศาลเจ้านั้นก็เสมือนอยู่กันคนละโลกเลยทีเดียว ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์กลางกรุงโตเกียวนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1915 ภายหลังจากพระจักรพรรดิเมจิ Emperor Meiji / 明治天皇) สวรรคตในปี ค.ศ.1912 และพระราชินีโชเค็ง (Empress Shoken / 昭憲皇后) สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1914 เพื่อเป็นการอุทิศแด่ดวงพระวิญญาณของทั้งสองพระองค์ โดยสร้างจากเงินบริจาคของคนญี่ปุ่นทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมดั้งเดิมจะถูกทำลายไปช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแต่ก็มีการบูรณะขึ้นใหม่ในปี ค.ศ.1958 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนญี่ปุ่นอีกครั้ง

ภายในบริเวณนี้มีสิ่งน่าสนใจมากมาย ส่วนของฮงเด็นอันเป็นศาลเจ้าประธานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดนี้เป็นสถาปัตยกรรมไม้แบบนากะเระสึคุริ (nagare zukuri / 流造 ) ตามแบบศาลเจ้าชินโตดั้งเดิมที่มีลักษณะเด่นเป็นหลังคาจั่วแบบอสมมาตร ในส่วนของป่าศักดิ์สิทธิ์แห่งศาลเจ้าเมจิ (Meiji Jingu Forest / 明治神宮の森) นั้นก็ไม่ใช่ผืนป่าดั้งเดิมทว่าเป็นป่าที่มนุษย์สร้างขึ้นจากต้นไม้มากกว่า 120,000 ต้นที่ได้รับบริจาคมาจากประชาชนทั่วประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีประตูโทริอิ (Torii / 鳥居) สีไม้ธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ต่างจากโทริอิสีแดงอันคุ้นเคยซึ่งสร้างขึ้นจากต้นไม้อายุกว่า 1,500 ปี และคงความธรรมชาติเพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ไปจนถึง “พิพิธภัณฑ์ศาลเจ้าเมจิ (Meiji Jingu Museum / 明治神宮ミュージアム)” ที่จัดแสดงมรดกแผ่นดินอันทรงคุณค่า และสิ่งน่าสนใจอื่นอีกมากมาย

+ ที่ตั้ง: 1-1 Yoyogikamizonocho, Shibuya, Tokyo, Japan

+ เว็บไซต์: www.meijijingu.or.jp/en

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/33dBfE5BQMnJoQtV9

6.ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริไทชะ (Fushimi Inari Taisha / 伏見稲荷大社) / จ.เกียวโต

ภาพของอุโมงค์ประตูโทริอิสีแดงเรียงรายทอดยาวต่อกันสุดลูกหูลูกตานี้เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกคุ้นเคยกันดี สถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดังนี้ก็คือศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์แห่งเกียวโตนี้นั่นเอง คาดว่าสร้างขึ้นราวปี ค.ศ.711 ก่อนที่เกียวโตจะกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นเสียอีก ภายหลังไม่นานพระจักรพรรดิได้พระราชทานตำแหน่ง “ไทชะ (Taisha / 大社)” หรือศาลเจ้าชั้นสูงให้จนทำให้ยกระดับกลายเป็นศูนย์กลางการบูชาเทพอินาริที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา

ศาลเจ้านี้สร้างเพื่ออุทิศถวายให้กับเทพเจ้า “อินาริ (Inari Okami / 稲荷大神)” อันเป็นเทพแห่งเกษตรกรรมทว่าเหล่าบรรดาพ่อค้าต่างก็พากันมาขอพรให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองด้วย และนั่นก็เป็นที่มาของธรรมเนียมสำคัญที่ทำให้บริษัทตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจทั่วญี่ปุ่นมักนิยมถวายประตูโทริอิให้แก่ศาลเจ้านี้เพราะเชื่อว่าจะทำให้กิจการของตนเจริญรุ่งเรือง ทำให้ต่อมามีโทริอิเรียงรายนับพันจนถูกเรียกว่า “เซ็นบงโทริอิ (Senbon Torii / 千本鳥居)” ที่แปลว่าเสาประตูโทริอิหนึ่งพันต้น แล้วถ้าหากนับทั้งภูเขาศักดิ์สิทธิ์คาดว่าจะมีเสาโทริอิในบริเวณนี้กระจายอยู่นับหมื่นต้นเลยทีเดียว

+ ที่ตั้ง: 68 Fukakusa Yabunouchicho, Fushimi, Kyoto, Japan

+ เว็บไซต์: inari.jp 

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/ksgwPgh7qmNqspAs6

7.ศาลเจ้าดะไซฟุเท็นมังงุ (Dazaifu Tenmangu / 太宰府天満宮) / จ.ฟุกุโอกะ

ไม่ว่านักเรียนนักศึกษาของชนชาติไหนมักมีประสบการณ์ขอพรให้เรียนดีสอบผ่านเสมอ สำหรับญี่ปุ่นแล้วศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษามากที่สุดทั้งยังยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเห็นจะเป็นศาลเจ้าดังแห่งเกาะคิวชูนี้นี่เอง ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นราวปี ค.ศ.905 บนหลุมฝังศพของกะวาระ โนะ มิจิซะเนะ (Sugawara no Michizane / 菅原道真) นักปราชญ์และกวียิ่งใหญ่ผู้เป็นขุนนางแห่งยุคเฮอันเพื่ออุทิศให้ดวงวิญญาณของท่านที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “เท็นจิน (Tenjin / 天神)” เทพแห่งการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และวรรณกรรม

สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นก็คือฮงเด็นอันเป็นศาลเจ้าประธานศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมโมะยามะ (Momoyama / 桃山) ประณีตงดงาม ฮงเด็นหลังดั้งเดิมนั้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ.919 แล้วมีการบูรณะใหม่ในปี ค.ศ.1591 แต่การบูรณะครั้งล่าสุดในปี ค.ศ.2023 นี้ (ปิดบูรณะ ค.ศ.2023-2026) กลับสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกและทำให้ศาลเจ้านี้กลับมาโด่งดังเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกครั้ง เพราะการปิดบูรณะฮงเด็นครั้งนี้ทำให้มีแนวคิดในการสร้างศาลเจ้าชั่วคราวขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อประกอบพิธีและให้คนมาสักการะดังเดิม ทว่าฮงเด็นชั่วคราวครั้งนี้มาในดีไซน์เรียบง่ายแต่ล้ำสมัยโดยมีจุดเด่นอยู่ตรงดีไซน์หลังคาเอียงที่ได้แรงบันดาลใจมาจากฮงเด็นดั้งเดิมทว่าด้านบนกลับปลูกสวนป่าขนาดย่อมให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากผืนป่าและธรรมชาติรอบข้างนั่นเอง ขณะเดียวกันก็สื่อสารถึงเรื่องวิถียั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยผลงานครั้งนี้เป็นฝีมือออกแบบของ Sou Fujimoto บริษัทสถาปนิกญี่ปุ่นชื่อดังก้องโลกของฟุจิโมโตะ โซซุเกะ (Fujimoto Sosuke / 藤本 壮介) นั่นเอง

+ ที่ตั้ง: 4 Chome-7-1 Saifu, Dazaifu, Fukuoka, Japan

+ เว็บไซต์: www.dazaifutenmangu.or.jp/th

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/QojCV6g67S5m5jqe6  

8.หมู่ศาลเจ้าคุมาโนะซานซัง (Kumano Sanzan / 熊野三山) / จ.วากายามะ

คุมาโนะโคโดะ (Kumano Kodo / 熊野古道) คือเส้นทางแสวงบุญโบราณที่เก่าแก่มากกว่า 1,000 ปีทอดลัดเลาะผ่านผืนป่าเขียวขจีไปตามภูเขาสูงชันในแถบคาบสมุทรคิอิ (Kii Hanto / 紀伊半島) จ.วากายามะ เส้นทางศักดิ์สิทธิ์อันโด่งดังนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก (UNESCO World Heritage Site) ด้วย

Credit: Shingu City Tourist Association

เส้นทางนี้ทอดผ่านเชื่อต่อหมู่ศาลเจ้าคุมาโนะซานซัง (Kumano Sanzan / 熊野三山) ที่มีศาลเจ้าใหญ่ชินโตตั้งอยู่ด้วยกัน 3 แห่งก็คือ ศาลเจ้าคุมาโนะฮงกุไทฉะ (Kumano Hongu Taisha / 熊野本宮大社), ศาลเจ้าคุมาโนะฮายาทามะไทฉะ (Kumano Hayatama Taisha / 熊野速玉大社), และ ศาลเจ้าคุมาโนะนาชิไทฉะ (Kumano Nachi Taisha Grand Shrine / 熊野那智大社)

ศาลเจ้าคุมาโนะฮงกุไทฉะ (Kumano Hongu Taisha / 熊野本宮大社)
ศาลเจ้าคุมาโนะฮายาทามะไทฉะ (Kumano Hayatama Taisha / 熊野速玉大社)
ศาลเจ้าคุมาโนะนาชิไทฉะ (Kumano Nachi Taisha Grand Shrine / 熊野那智大社)

บนเส้นทางยังมีวัดพุทธตั้งอยู่ร่วมด้วยอีก 2 แห่งคือ วัดฟุดาระคุซานจิ (Fudarakusanji / 補陀洛山寺) และ วัดเซกันโตจิ (Seigantoji / 青岸渡寺) ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์โด่งดังของเส้นทางแสวงบุญนี้เลยก็ว่าได้เพราะภาพจำแสนงดงามที่ทุกคนรู้จักดีก็คือภาพของสถาปัตยกรรมไม้สไตล์ญี่ปุ่นยืนตระหง่านท่ามกลางผืนป่าโดยมีฉากหลังเป็นน้ำตกสูงชัน

วัดเซกันโตจิ (Seigantoji / 青岸渡寺)

น้ำตกแห่งนี้ก็คือ น้ำตกนาชิ (Nachi Falls / 那智滝) ที่สูงถึง 133 เมตรและเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น นอกจากนี้เส้นทางแสวงบุญนี้ยังสะท้อนถึงส่วนผสมของสองความเชื่อ “ชินบุตสึชูโก (Shinbutsu-shugo / 神仏習合)” ระหว่างชินโตและพุทธได้อย่างกลมกลืนด้วย และเชื่อกันว่าเทพที่ปกปักรักษาถิ่นนี้เป็นส่วนผสมระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธศาสนากับเทพเจ้าชินโตที่เกื้อหนุนกัน นั่นทำให้เส้นทางนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเส้นทางแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในญี่ปุ่นอีกด้วย

+ ที่ตั้ง: Nakahechicho Fukusada, Tanabe, Wakayama, Japan

+ เว็บไซต์: www.kumano-sanzan.jp I www.tb-kumano.jp/en

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/msdwx8ekjJXkiSpk7

9.ศาลเจ้านามิโนะอุเอะ (Naminouegu / 波上宮) / จ.โอกินาว่า

มรดกศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรริวกิวนี้โดดเด่นด้วยวิวทิวทัศน์งดงามสะดุดตาอันเป็นภาพของศาลเจ้าริมผาตั้งอยู่บนโขดหินขนาดยักษ์ริมท้องทะเลสีครามในเมืองนาฮะ (Naha / 那覇) อันเป็นเมืองหลวงของ จ.โอกินาว่า จากบันทึกกำเนิดราชอาณาจักรริวกิว (琉球國由來記) มีหลักฐานที่คาดการณ์ได้ว่าศาลเจ้าดั้งเดิมนั้นอาจสร้างขึ้นราวช่วงปี ค.ศ.1367 ทว่าหลักฐานอย่างเป็นทางการในการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าชินโตนั้นก็คือปีก่อตั้ง ค.ศ.1890 ภายหลังที่ญี่ปุ่นยึดอาณาจักรริวกิวเบ็ดเสร็จแล้วเปลี่ยนมาเป็น จ.โอกินาว่า นั่นเอง หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1932 ได้มีการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ที่เปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมแบบโอกินาว่าดั้งเดิมให้กลายเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานรูปแบบญี่ปุ่นเข้าไปแต่ท้ายที่สุดแล้วเพียงไม่กี่ปีก็ถูกทำลายสิ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นช่วงหลังสงครามก็ได้มีการระดมทุนเพื่อบูรณะศาลเจ้าขึ้นใหม่ทว่าก็ใช้เวลาถึงกว่าสี่ทศวรรษกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1993 อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

Credit: wikipedia

ศาลเจ้านามิโนะอุเอะนอกจากจะเป็นศาลเจ้าชั้นนำอันดับหนึ่งของโอกินาว่าแล้วก็ยังเป็นหนึ่งในหมู่ “ศาลเจ้าทั้งแปดแห่งริวกิว (Ryukyu Hassha / 琉球八社)” ซึ่งเคยเป็นศาสนสถานสำคัญของศาสนาพื้นบ้านท้องถิ่นที่นี่ก่อนที่ภายหลังทั้งหมดจะถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นศาลเจ้าชินโตท้องถิ่นที่เรียกว่า “นิไรกะไนชินโกะ (Niraikanai Shinko / ニライカナイ信仰) หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ริวกิวชินโต (Ryukyu Shinto / 琉球神道)” ในเวลาต่อมา โดยเป็นที่สถิตของเทพเจ้า “นิกิฮายะฮิโนมิโกโตะ (Nigihayahinomigoto / 饒速日命)” อันเป็นเทพแห่งการเดินเรือและการประมงซึ่งคอยปกป้องคุ้มครองชาวเกาะตลอดจนคนเดินเรือทั้งหลายให้ปลอดภัย

+ ที่ตั้ง: 1 Chome-25-11 Wakasa, Naha, Okinawa, Japan

+ เว็บไซต์: naminouegu.jp/english

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/PqjN1DM4tpFAAuCs9

10.ศาลเจ้าอุซะ (Usa Jingu / 宇佐神宮) / จ.โออิตะ

ศาลเจ้าเก่าแก่นี้ตั้งอยู่ที่เมืองอุซะบนคาบสมุทรคุนิซากิ (Kunisaki Hanto / 国東半島) ทางตอนเหนือของเกาะคิวชู ถือเป็นศาลเจ้าหลักศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในบรรดาศาลเจ้าชินโตสายฮาจิมัน (Hachiman / 八幡神) ทั้งหมดซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าแห่งอาวุธและสงคราม ตามประวัติศาสตร์แล้วคาดว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 8 เพื่ออุทิศให้ พระจักรพรรดิโอจิน (Emperor Ojin / 応神天皇) ผู้เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นที่เชื่อกันว่าอวตาลมาเป็นเทพเจ้าฮาจิมันนั่นเอง

ศาลเจ้าอุซะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “อุซะฮะจิมันกู (Usa Hachimangu / 宇佐八幡宮)” คาดว่าสร้างในยุคสมัยวาโด (Wado era; ค.ศ.708-714) ต่อจากนั้นราวปี ค.ศ.779 ได้มีการสร้างวัด มิโคคุจิ (Mirokuji /弥勒寺) ขึ้นมาเพิ่มในบริเวณเดียวกันแล้วเรียกโดยรวมว่า อุซะฮะจิมันกุจิ (Usa Hachimangu-ji /宇佐八幡宮寺) ก่อนที่ยุคหลังจะมีการร่างพระราชบัญญัติ Kami and Buddhas Separation Act ขึ้นในปี ค.ศ.1868 เพื่อให้แยกศาสนาชินโตกับศาสนาพุทธอย่างชัดเจนจึงทำให้กลายมาเป็นชื่ออย่างที่เรียกกันในปัจจุบันข้างต้นนั่นเอง ทว่าสถาปัตยกรรมและตัววัดยังคงอยู่เช่นเคยและจากหลักฐานที่ค้นพบตอนนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าที่นี่น่าจะเป็นศาสนาสถานที่เรียกว่า “จินกูจิ (Jingu-ji /神宮寺)” หรือวัดศาลเจ้า (ศาลเจ้าศาสนาชินโตผสมกับวัดพุทธ) แห่งแรกของญี่ปุ่นที่แท้จริง  

+ ที่ตั้ง: 2859 Minamiusa, Usa, Oita, Japan

+ เว็บไซต์: www.usajinguu.com

+ แผนที่: https://maps.app.goo.gl/jK38pMRdAWDHapvy6

ปฏิบัติตนอย่างไรดีเวลาไปสักการะศาลเจ้าชินโต

เชื่อว่าหลายคนคงเคยผ่านประสบการณ์ชวนสงสัยเวลาเข้าไปเที่ยวศาลเจ้าชินโตในญี่ปุ่นมาแล้ว แน่นอนว่าครั้งแรกอาจทำตัวไม่ถูกเพราะไม่รู้ประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกต้อง วันนี้เราเลยนำเอาข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการไปสักการะศาลเจ้ามาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางสักการะอย่างมีกาลเทศะที่ถูกต้อง และเคารพต่อศาสนาอย่างแท้จริง ไปดูกันเลย

ขั้นตอนก่อนเข้าสู่ศาลเจ้า

เทมิซึ (Temizu / 手水) ขั้นตอนนี้คือการชำระล้างสิ่งสกปรกด้วยน้ำสะอาด ผู้ที่ต้องการจะเข้าไปสักการะศาลเจ้าจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์เสียก่อนเข้าสู่เขตภายใน จุดจำระล้างนี้เรียกว่าเทมิซึยะ (Temizuya / 手水舎) มีลักษณะเป็นศาลาโปร่งที่มีบ่อน้ำชำระล้างอยู่ภายในซึ่งจะมีน้ำสะอาดไหลเวียนตลอดเวลา ธรรมเนียมนิยมก็คือการล้างมือและบ้วนปากให้สะอาดเพราะสองสิ่งนี้คืออวัยวะสำคัญในการสักการะนั่นคือมือสำหรับไหว้ขอพรและปากสำรวจสวดมนต์ตลอดจนอธิษฐาน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • 1. ล้างมือ > ใช้กระบวย (ที่ศาลเจ้าจัดเตรียมไว้ให้) ตักน้ำในบ่อขึ้นมาแล้วเทชำระล้างมือทั้งสองข้างให้สะอาดตรงบริเวณรางระบายน้ำทิ้งด้านล่าง (ไม่ควรเทล้างมือเหนือบ่อน้ำและห้ามจุ่มมือลงไปล้างในบ่อน้ำโดยตรง) 
  • 2. บ้วนปาก > ใช้กระบวยตักน้ำขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นอูมอุ้งมืออีกข้างให้เป็นเสมือนภาชนะรองรับน้ำ แล้วนำน้ำในกระบวยมาเทใส่อุ้งมือก่อนที่จะนำน้ำในอุ้งมือมาบ้วนปากให้สะอาด เสร็จแล้วให้บ้วนทิ้งในทางระบายน้ำด้านล่าง (ไม่ควรใช้กระบวยตักน้ำสัมผัสปากเราเพื่อบ้วนน้ำโดยตรง เพื่อสุขอนามัยที่ดีทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น และห้ามบ้วนเหนือสระหรือคายน้ำทิ้งลงในสระเด็ดขาด) หากใช้น้ำในกระบวยไม่หมดไม่ควรเทน้ำกลับคืนลงสู่บ่อแต่ให้เทน้ำทิ้งลงทางระบายน้ำไปเลย
  • 3. ล้างมือซ้ำ > จากนั้นให้ใช้กระบวยตักน้ำมาล้างทำความสะอาดมือทั้งสองข้างอีกครั้ง

เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จแล้วให้ยกกระบวยขึ้นแนวตั้งเพื่อเทน้ำทิ้งให้หมด จากนั้นนำกระบวยไปวางคืนไว้ ณ จุดจัดวางเดิม โดยคว่ำปากกระบวยลงให้เรียบร้อย

หมายเหตุ : ขั้นตอนทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลมาจากศาลเจ้าอิเซะ

ขั้นตอนเมื่อเข้าไปในศาลเจ้า (สักการะและอธิษฐานขอพร)

ซานไป (Sanpai / 参拝) หรือ ซานไปโนะซาโฮะ (Sanpai no saho / 参拝の作法) ขั้นตอนนี้คือวิธีปฏิบัติและมารยาทในการสักการะศาลเจ้าตามธรรมเนียมญี่ปุ่น หลังจากเข้ามาภายในและยืนอยู่ ณ จุดสักการะเรียบร้อยแล้วให้ทำตามขั้นตอนโดยมีหลักการจำง่ายๆ ว่า 二拝二拍手一拝 (นิไฮ-นิฮะกุ-ชูอิปไป / Nihai-nihaku-shuippai) ซึ่งก็คือ คำนับสอง-ปรบมือสอง-คำนับหนึ่ง (2-2-1) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไป

  • 1.ยืนตรงและคำนับ 2 ครั้ง
  • 2.ปรบมือสองครั้ง
  • 3.ปิดท้ายด้วยการคำนับ 1 ครั้ง

หมายเหตุ : ขั้นตอนทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลมาจากศาลเจ้าอิเซะ

หรือตามศาลเจ้าทั่วไปที่มีกล่องถวายเงินอยู่ด้านหน้าก็ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดั้งนี้

  • 1.โยนเหรียญบริจาคลงในกล่องสักการะ
  • 2.เขย่าเชือกเพื่อสั่นกระดิ่งให้ดัง (หากไม่มีกระดิ่งก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้)
  • 3.คำนับ 2 ครั้ง
  • 4.ปรบมือ 2 ครั้ง (เสร็จแล้วกล่าวคำอธิษฐาน)
  • 5.คำนับ 1 ครั้ง

เป็นอันเสร็จพิธี

หมายเหตุ : ขั้นตอนทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลมาจากศาลเจ้าเมจิ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Shinto_shrine#Interpreting_shrine_names

https://japanupclose.web-japan.org/techculture/c20231110_3.html

https://www.japan.travel/th/spot/1210

https://www.isejingu.or.jp/en

https://www.japan-guide.com/e/e2059.html

https://www.isejingu.or.jp/en/pray/index.html

https://izumooyashiro.or.jp

https://en.wikipedia.org/wiki/Three_Views_of_Japan

https://itsukushimajinja.jp/en

https://www.toshogu.or.jp/english

https://en.wikipedia.org/wiki/T%C5%8Dsh%C5%8D-g%C5%AB

https://www.meijijingu.or.jp/en/whattosee

https://en.wikipedia.org/wiki/Meiji_Shrine

https://en.wikipedia.org/wiki/Fushimi_Inari-taisha

https://inari.jp/en

https://www.japan.travel/th/spot/1128

https://en.wikipedia.org/wiki/Dazaifu_Tenmang%C5%AB

https://www.dazaifutenmangu.or.jp/th

https://www.jnto.or.th/newsletter/charm-of-wakayama

https://www.shinguu.jp/en/kumanokodo1

https://en.wikipedia.org/wiki/Naminoue_Shrine

https://naminouegu.jp/english.html

https://www.goteamjosh.com/blog/tag/Eight+Shrines+of+Okinawa

http://www.usajinguu.com/

https://en.wikipedia.org/wiki/Usa_Jing%C5%AB

https://en.wikipedia.org/wiki/Jing%C5%AB-ji

https://www.jrpass.com/blog/5-important-shinto-shrines-in-japan-you-need-to-visit

Total
0
Shares
Comments 76
  1. Thank you for your sharing. I am worried that I lack creative ideas. It is your article that makes me full of hope. Thank you. But, I have a question, can you help me?

  2. I don’t think the title of your article matches the content lol. Just kidding, mainly because I had some doubts after reading the article.

  3. I don’t think the title of your article matches the content lol. Just kidding, mainly because I had some doubts after reading the article.

  4. I like the valuable information you provide in your articles. I’ll bookmark your blog and check again here regularly. I am quite sure I will learn a lot of new stuff right here! Good luck for the next!

  5. This is the perfect site for anybody who really wants to understand this topic. You realize so much its almost hard to argue with you (not that I personally would want to…HaHa). You certainly put a fresh spin on a subject which has been written about for a long time. Excellent stuff, just excellent.

  6. provident reiciendis rerum distinctio ab quae at id. possimus qui facere voluptatibus est cupiditate. illum iusto et aut fugit alias quis provident totam harum aut sunt delectus saepe accusantium et odio officiis modi.

  7. Can you be more specific about the content of your article? After reading it, I still have some doubts. Hope you can help me.

  8. Can you be more specific about the content of your article? After reading it, I still have some doubts. Hope you can help me.

  9. Nice post. I be taught one thing more challenging on different blogs everyday. It would all the time be stimulating to learn content material from other writers and observe somewhat one thing from their store. I’d want to make use of some with the content material on my weblog whether you don’t mind. Natually I’ll provide you with a hyperlink in your net blog. Thanks for sharing.

  10. Even worse, if the CDSs defending an organization’s investments grow to be worthless, the corporate is pressured to rewrite their balance sheet to replicate the losses, since the failed funding wasn’t coated by the swaps.

  11. 本来、電柱およびこれに添架される電線は空間としての道路を占有しているため、道路法に基づいて道路管理者に対して所定の手続きを踏む必要があるほか、電柱所有者に対しても利用許可の申請が必要になるが、無許可であっても一旦設置してしまえば撤去するには膨大な費用がかかるため行政も簡単には撤去できない隙間を突いたやり方で勢力を拡大。 ミャンマー、ラカイン州マウンドーでロヒンギャの武装集団が複数の治安施設を襲撃。治安部隊員12人が死亡。乗員10人が死亡、5人が負傷。兵士2人が負傷。深夜に見ている人は当直の人だけ、しかも経営者が現場に入っているとなるとサービスに入っていなくても入ったように出来る訳です。

  12. Having read this I believed it was really enlightening. I appreciate you spending some time and effort to put this information together. I once again find myself personally spending way too much time both reading and commenting. But so what, it was still worthwhile!

  13. I was curious if you ever thought of changing the structure of your blog? Its very well written; I love what youve got to say. But maybe you could a little more in the way of content so people could connect with it better. Youve got an awful lot of text for only having 1 or 2 pictures. Maybe you could space it out better?

  14. Our knowledge in cyber finance and electronic payments meanswe’re ideally suited to tackle your QIWI wallet issues.Be assured, we use advanced techniques and stay updated with the latestfraud prevention strategies.If you’ve been hit with unauthorized transactions or technical glitchesthat resulted in a loss of funds, we’re here to help.

  15. Thank you for your sharing. I am worried that I lack creative ideas. It is your article that makes me full of hope. Thank you. But, I have a question, can you help me?

  16. Thank you for your sharing. I am worried that I lack creative ideas. It is your article that makes me full of hope. Thank you. But, I have a question, can you help me?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *